หล่มเก่าคว้ารางวัลชนะเลิศ ขบวนรถบุปผชาติ ภายใต้ชื่อ “หัตถกรรมล้ำค่า หล่มเก่าศรัทธา มานบน้อมวันทา สักการะท้าวเวสสุวรรณ”
เพชรบูรณ์-ผู้ว่าเพชรบูรณ์ เปิดงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ ประจำปี 2567 ยิ่งใหญ่ หล่มเก่าคว้ารางวัลชนะเลิศ ขบวนรถบุปผชาติ ภายใต้ชื่อ “หัตถกรรมล้ำค่า หล่มเก่าศรัทธา มานบน้อมวันทา สักการะท้าวเวสสุวรรณ” ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของปราชญ์ชาวบ้าน วิถีชีวิตคนในท้องถิ่น
วันที่ 27 มกราคม 2567
ก่อนพิธีเปิด งานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ ประจำปี 2567 อย่างเป็นทางการ โดยนายกฤษณ์ คงเมือง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานเปิดงานฯ ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่
27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 มี นายปกรณ์ ตั้งใจตรง ปลัดจังหวัดเพชรบูรณ์
กล่าวรายงาน พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ
นักท่องเที่ยว ประชาชน เข้าร่วมพิธีเปิด ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์
ก่อนพิธีเปิดฯ ได้มีการจัดประกวดขบวนรถบุปผชาติ จาก 11 อำเภอ พร้อมด้วยเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ รวม 13 ขบวนแห่ ตกแต่งตามแนวคิด ที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของแต่ละอำเภอ โดยขบวนรถบุปผชาติ ได้เริ่มต้นจากหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าแห่ไปรอบเมืองเพชรบูรณ์ ก่อนเคลื่อนขบวนมาเปิดงานที่บริเวณเวทีกลางหน้าศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์
ซึ่งผลการประกวดรถบุปผชาติ ปรากฎว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท, รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ อำเภอหล่มสัก ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 อำเภอวิเชียรบุรี ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท, ส่วนรางวัลชมเชย 2 รางวัลได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี และ อำเภอน้ำหนาว รับเงินรางวัลๆ ละ 5,000 บาท
สำหรับขบวนรถบุปผชาติมะขามหวานอำเภอหล่มเก่าประจำปี
2567 ภายใต้ชื่อ “หัตถกรรมล้ำค่า
หล่มเก่าศรัทธา มานบน้อมวันทา สักการะท้าวเวสสุวรรณ” นั้น
ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของปราชญ์ชาวบ้าน วิถีชีวิตคนในท้องถิ่น
ตกแต่งด้วยงานหัตถกรรมดอกไม้แบบไทย โดยชั้นบนเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มหาวชิราลงกรณ์ วปร. เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28
กรกฎาคม 2567 ประดับอยู่บนหน้าบันโบสถ์จำลองที่สร้างขึ้นแบบไทยสร้างสรรค์
ประดับด้วยงานหัตถศิลป์ การจักสานไม้ไผ่ การนำเมล็ดพันธุ์พื้น อาทิ เช่น เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวเปลือก มาเรียงตกแต่งประดับ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ใช้วัสดุจากใบลานในท้องถิ่นนำมาพับประดิษฐ์ เป็นรูปเศียรพญานาคห้อยระยะด้วยใบลานสานเป็นลูกตะกร้อระย้าย้อยห้อยด้วยคลิสตัลทั้ง
4 ทิศ
ซึ่งภายในโบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูป พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นองค์ประธาน ประดับด้วยพานพุ่มต้นผึ้ง ด้านหน้าประดิษฐานท้าวเวสสุวรรณ จำลองวัดศรีมงคล บ้านหินกลิ้ง
ประดับประดาด้วยเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ ในท้องถิ่น ฉัตรกลางกั้นด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งประดิษฐานจากไม้ตอกประดับตกแต่งด้วยใช้เครื่องไม้ในการประกอบ พิธีกรรมทางสงฆ์ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงความเคารพศรัทธา
ต่อพระพุทธศาสนา
ฐานใช้งานสานไม้ไผ่เป็น ลวดลายติดด้วยดอกประจำยาม ประดิษฐ์จากเมล็ดพืช ด้านหลังประดิษฐ์ฐานพระธาตุบ้านหินกลิ้งจำลอง ด้านหน้าพระธาตุเป็นพระพุทธรูป รายล้อมด้วยดอกบัวประดิษฐ์ พุ่มสักการะประดิษฐ์สร้างสรรค์ที่ทำด้วยงานไม้ไผ่สานและตกแต่งรายละเอียดด้วยงานหัตถกรรมแบบไทยอย่างสวยงาม ตกแต่งด้วยงานหัตถกรรมดอกไม้แบบไทย โดยเทวดาสื่อถึงความเชื่อเรื่องความดี สิ่งมงคล
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของไทยหล่ม เครื่องทรงท้าวเวสสุวรรณ
เทวดาประดับตกแต่ง ด้วยเมล็ดพืชอย่างสวยงาม.
ชาติ วิกสิตโกมุท/เพชรชัยออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น