Facebook

จังหวัดเพชรบูรณ์​ ขอเชิญเที่ยวงานอุ้มพระดำน้ำ​ประจำปี​ 2567 ระหว่าง​ วันที่​ 27 ก.ย.​ - 6 ต.ค.​67

กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียน "ตุ๊บเก่ง" ดนตรีพื้นบ้านเมืองเพชรบูรณ์ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

 

           เพชรบูรณ์- "ตุ๊บเก่ง" ดนตรีพื้นบ้านเมืองเพชรบูรณ์  "Tub Keng" Phetchabun Traditional Music  กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียน  เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี ๒๕๖๖  จากกระทรวงวัฒนธรรม  ประเภทรายการที่เสี่ยงต่อการสูญหายต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

           สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์  ได้รายงานว่า กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียน  "ตุ๊บเก่ง" ดนตรีพื้นบ้านเมืองเพชรบูรณ์  "Tub Keng" Phetchabun Traditional Music เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ สาขาศิลประการแสดง และงานชางฝีมือดั้งเดิม  ประเภทรายการที่เสี่ยงต่อการสูญหายต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

        "ตุ๊บเก่ง"  เป็นดนตรีพื้นบ้านของเมืองเพชรบูรณ์  ที่จัดเป็นดนตรี  พิธีกรรมที่ใช้บรรเลงเพื่อเพิ่มความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรม  ซึ่งแต่เดิมนั้นสามารถล่นได้ทั้งในงานมงคลและอวมงคล  มีต้นกำเนิดไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี

        จากบ้านป่าแดง  ตำบลบำเลา  อำเภอเมืองเพชรบูรณ์  และได้ถ่ายทอด หรือเผยแพร่ออกไปสู่ชุมชนอื่น ๆ โดยเฉพาะในเขตอำเกอเมืองเพซรบูรณ์  พบได้ที่ บ้านนางั่ว บ้านสะเดียง และบ้านป่าเลา  นอกจากนั้นยังมีการค้นพบว่าเคยมีการเล่นใน  บ้านน้ำเลา  บ้านห้วยไคร้  และบ้านท่าด้วง  แต่ปัจจุบันนี้ ยังคงพอมีวงดนตรี “ตุ๊บเก่ง” เหลืออยู่เฉพาะในบ้านป่าแดงเท่านั้น

          ชื่อ "ตุ๊บเก่ง" มาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่สำคัญ ๒ ชนิด ในวงนั่นคือ "ตุ๊บ" หมายถึงเสียงของกลอง และ "เก่ง"  หมายถึงเสียงของฆ้องกระแต ดนตรีตุ๊บเก่งเล่นเป็นวงผสม  ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๓ ชนิด ๕ ชิ้น ได้แก่ ปีแต้ ๑ เลา กลองเดิน ๑ ใบ กลองออก ๑ ใบ และฆ้องราว ๑ ชุด  ประกอบด้วย ฆ้องกระแต ๑ ใบและฆ้องโหม่งต่างขนาดกัน ๒ ใบ ปกติมีผู้เล่น ๕ คน ดนตรีมีลักษณะเจื้อยแจ้ว ช่วงเสียงแคบต่ำ ทำนองมี 3 ลักษณะ คือ ๑. ลักษณะช้าราบเรียบ ๒. ลักษณะกระชับเร็วขึ้น ๓. ลักษณะจังหวัดเร็ว

           โดยมีปีแต้เป็นตัวดำเนินทำนอง ซึ่งจะต้องมีการทำเสียงได้อย่างต่อเนื่องกันตลอดเพลง ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่นจะเป็นตัวให้จังหวะ ปี่แต้จะต้องบรรเลงทำนองเพลงให้สัมพันธ์กับกระสวนจังหวะกลองเดิน และกลองออก  ซี่งจะมีลักษณะเฉพาะของแต่ละเพลง  เพลงที่เล่นจะเรียบง่ายไม่ซับซ้อน  เป็นเพลงท่อนเดียวบรรเลงช้ำไปเรื่อย ๆ  แต่ในแต่ละเที่ยวผู้เป่าจะคิดต้นทำนองออกไปส่วนห้องกระแต่ใบเล็กเสียงสูง และฆ้องขนาดกลาง เสียงค่อนข้างต่ำ และฆ้องขนาดใหญ่เสียงต่ำ จะเป็นตัวยืนแนวจังหวะให้กับวง.



เพชรชัยออนไลน์

 


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.