ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ วิทยาลัยการเงินภาคใต้แขวงจำปาสัก และ วิสาหกิจชุมชนแขวงจำปาสัก
เพชรบูรณ์- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การผลิต การพัฒนาบุคลากรด้านพัฒนาศักยภาพ
และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ รองรับอุตสาหกรรมการผลิต กับ วิทยาลัยการเงินภาคใต้
และ ศูนย์บริการวิสาหกิจขนาดน้อยและกลางแขวงจำปาสัก สปป.ลาว
วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ที่ห้องประชุมสีทอง อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ นายชัชวาล เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลง MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กับ วิทยาลัยการเงินภาคใต้แขวงจำปาสัก และ ศูนย์บริการวิสาหกิจขนาดน้อยและกลางแขวงจำปาสัก สปป.ลาว
โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น้ำฝน เบ้าทองคำ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย ท่านคำพร วิรวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการเงินภาคใต้แขวงจำปาสัก ท่านวรรณดา พรหมสถิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิสาหกิจขนาดน้อยและกลางแขวงจำปาสัก และ ท่านคอนสวรรค์ วรรณวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิสาหกิจขนาดน้อยและกลางแขวงจำปาสัก สปป.ลาวร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง MOU ดังกล่าวร่วมกัน
โอกาสเดียวกันนี้
นายชัยยันต์ ยอดคำ ประธานสมาพันธ์ เอส เอ็ม อี ไทย เพชรบูรณ์ พร้อมคณะ และ นายพสุ
สุครีวก อุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ นางชญากุล ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดพชรบูรณ์ นายวีระ ธูปทอง ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้ประกอบการเอส เอ็ม อี เพชรบูรณ์ ตลอดจน ผู้บริหาร คณบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ให้การต้อนรับและร่วมเป็นสักขีพยานด้วย
โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อ "การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
รองรับอุตสาหกรรมการผลิต "ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กับ
วิทยาลัยการเงินภาคใต้แขวงจำปาสัก และ
ศูนย์บริการวิสาหกิจขนาดน้อยและกลางแขวงจำปาสัก ในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยังยืนและบรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงที่ตั้งไว้
ควรมีการยกระดับ ความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนาให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านการยกระดับผลิตคุณภาพแรงงานและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิต โดยการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ต้องให้ความสำคัญ กับการเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ การสร้างงาน รวมถึงการดำเนินนโยบายเพื่อขจัดปัญหา
ทั้งนี้ สหประชาชาติ และประเทศสมาชิกสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนายั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวคล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศคำเนินการร่วมกัน การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) คือ แนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ซึ่งการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (cconomic growb) ความครอบคลุมทางสังคม (social inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (environmental protection).
เพชรชัยออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น