Facebook

ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางอย่างปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๘

งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ปี 2566 เสี่ยงทายได้โขนเรือเหมวาริน อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ


เพชรบูรณ์- 10 - 19 ตุลาคม ประเพณีอุ้มพระดำน้ำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปี 2566 ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ทำการเสี่ยงทาย ได้โขนเรือเหมวาริน ซึ่งเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ โขนเรือ ที่จะใช้อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์อุ้มพระดำน้ำ

วันที่ 6 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. ที่หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ อ.เมืองเพชรบูรณ์  เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์  โดย ดร.เสกสรร  นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์  ได้จัดแถลงข่าว งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปี 2566 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 10 - 19 ตุลาคม 2566 ณ บริเวณหอโบราณคดีเพชรบูรณ์อินทราชัย วัดไตรภูมิ  วัดโบสถ์ชนะมาร และพุทธอุทยานเพชบุระ

โดยมีนายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วย​  นายชัชวาลย์​  เบญจสิริวงษ์​  รองผู้ว่าฯ​  ​นายสุเมธ​ ธีรนิติ​  รองผู้ว่า​ฯ​  ดร.วิศัลย์  โฆษิตานนท์​  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์​  นางสาวญาติกา​  แก้วบริสุทธิ์​ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย​ (ททท.)​ สำนักงานพิษณุโลก​  หัวหน้าส่วนราชการ  สื่อมวลชน  ประชาชนชน  และผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

        
 โอกาสเดียวกันนี้นายกฤษณ์  คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  ได้ทำการเสี่ยงทาย โขนเรือ ที่จะใช้อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์อุ้มพระดำน้ำ ณ ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร กลางแม่น้ำป่าสัก ในเช้าวันที่ 14 ตุลาคม ในปีนี้ปรากฎว่า ได้โขนหัวเรือ "เหมวาริน" (เหม-มะ-วา-ริน) อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ

          โขนเรือเหมวาริน (เหม มะ วา ริน) ซึ่งเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ โดยมีหัวเป็น เหม คือ หงส์ผสมราชสีห์ ลำตัวเป็นจระเข้ หางเป็นปลา นับว่าเป็นสัตว์ที่มีส่วนประกอบของสัตว์ชั้นสูงที่ปกติอาศัยอยู่ทั้งในน้ำบนบก และในอากาศป่าหิมพานต์ เป็นป่าที่ตั้งอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด

         ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณได้สรรค์สร้างภาพ จากเอกสารเก่าต่างๆ บรรดาสัตว์เหล่านี้เป็นที่รู้จักในนามของ สัตว์หิมพานต์  ซึ่งเรืออัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ จะมีโขนหัวเรือ และ หาง 3 ชุด ด้วยกัน คือ  1. กาญจนาคา  2. กุญชรวารี  3. เหมวาริน        

 สำหรับผู้ร่วมอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชา  ประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ณ ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ในปีนี้ประกอบด้วย

 เจ้าเมือง นายกฤษณ์  คงเมือง  ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

ฝ่ายเวียง พล.ต.ประพัฒน์  พบสุวรรณ  ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1

ฝ่ายวัง นายสุเมธ  ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

ฝ่ายคลัง นายบุญชัย  กิตติธราทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 3

ฝ่ายนา ดร.สมชาย  เผือกตระกูลชัย ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดเพชรบูรณ์

เทวดา นายไท  พานนนท์  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1  นายวิเศษ  ปิ่นพิทักษ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนเพชรพิทยาคม  และ  นายประทาน  หาดยาว  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์  ส่วนผู้ลั่นฆ้อง  ได้แก่  นายโกวิท  โลเกศเสถียร  นายกเทศมนตรีตำบลสว่างวัฒนา

โดยในวันแรก 11 ตุลาคม 2566 ได้กำหนดจัดพิธีรำถวายพระพุทธมหาธรรมราชา เวลา 18.00 น. ณ พุทธอุทยานเพชบุระ  จำนวน 2,566 คน

  วันที่ 12 ตุลาคม 2566 จัดพิธีบวงสรวง เวลา 09.09 น. ณ วัดไตรภูมิ พิธีอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชา แห่รอบเมืองเพชรบูรณ์ เวลา 17.00 น. โดยได้กำหนดจุดรับชมการแสดงและพิธีเปิดงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ณ บริเวณหน้าวัดมหาธาตุพระอารามหลวง ส่วนบริเวณหน้าสวนสาธารณะเพชบุระ ได้กำหนดเป็นจุดรับชมขบวนการแสดงอีก 1 จุด

วันที่ 13 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้กำหนดจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 ณ เวทีกลางส่วนวันที่เป็นหัวใจของการจัดงาน แรม 15 ค่ำ เดือน 10

วันที่ 14 ตุลาคม 2566 มีพิธีอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชาทวนน้ำจากท่าน้ำวัดไตรภูมิ ไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมารในเวลา 10.39 น. ณ ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ส่วนการแข่งขันพายเรือทวนน้ำหนึ่งเดียวในโลก ประเภทเรือสั้น ประเภทเรือยาว จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16ตุลาคม 2566 ณ ท่าน้ำวัดไตรภูมิ

 ส่วนการแสดงแสงเสียงตำนานอุ้มพระดำน้ำจัดแสดงในเวลา 20.00 น. ระหว่างวันที่ 14-17ตุลาคม 2566 ณ เวทีกลางบริเวณหน้าห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี ส่วนงานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย คาราวานสินค้า และฟรีคอนเสิร์ต จัดขึ้น ณ บริเวณหอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ตั้งแต่วันที่ 10 19 ตุลาคม 2566.













เพชรชัยออนไลน์

 


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.