Facebook

ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางอย่างปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๘

เพชรบูรณ์ประเมินสถานการณ์ เตรียมพร้อมรับมือ อุทกภัย ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วงจากสถานการณ์เอลนีโญ

     เพชรบูรณ์-รองผู้ว่าเพชรบูรณ์ ติดตามสถานการณ์อุทกภัย ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง จากสถานการณ์เอลนีโญ มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการและเตรียมการป้องกัน    

    วันที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมชาญอนุสรณ์ เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานประชุมประเมินและติดตามสถานการณ์อุทกภัย ฝนแล้ง ครั้งที่ 1 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี ปลัดจังหวัดเพชรบูรณ์ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมประชุม เพื่อติดตาม วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ ด้านสภาวะอากาศ สภาพน้ำท่า ฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และฝนตกหนักในพื้นที่ เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น  


   โดยที่ประชุมได้มีการรายงานการเตรียมป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ พร้อมประเมินสถานการณ์ และการเตรียมรับมืออุทกภัย ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง จากสถานการณ์เอลนีโญในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์

     พร้อมกันนี้ยังได้มีการประเมินสถานการณ์ และการเตรียมการรับมืออุทกภัย ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วงจากสถานการณ์เอลนีโญ ของอำเภอวังโป่ง อำเภอชนแดน และหนองไผ่ จากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซอยทิวไผ่ ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ พร้อมตรวจติดตามสถานการณ์อ่างเก็บน้ำห้วยท่าพล และ ติดตามประเมินสภาวะขาดแคลนน้ำ ในพืชผลทางการเกษตร ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ต.ท่าพล อ.เมืองเพชรบูรณ์  

   นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประเมินสถานการณ์อุทกภัย ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง จากสถานการณ์เอลนีโญ ร่วมกัน ซึ่งจากการประเมิน จังหวัดเพชรบูรณ์จะมีพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบใน 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นพื้นที่ ที่ได้รับน้ำมาก อีกส่วนคือ พื้นที่ ที่รับน้ำน้อย

     จึงต้องมีการบริการสถานการณ์ ซึ่งในปัจจุบัน แม้จะมีฝนตกในพื้นที่ แต่ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีน้อย อย่างอ่างเก็บน้ำท่าพล ปัจจุบันมีน้ำไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ ก็จะใช้อุปโภค บริโภคเป็นหลัก รักษาระบบนิเวศน์เป็นรอง หากเหลือเพียงพอบริหารจัดการ ก็จะส่งลงไปช่วยพี่น้องเกษตรกร

     สำหรับในเขตเทศบาลเมือง ในบางพื้นที่ เมื่อปีที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วม ตรงนี้ทางเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ได้ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำในจุดที่จำเป็นในการเร่งระบายน้ำ 2 จุด เพื่อเป็นการป้องกัน นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ยังได้ประสาน กับอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการเตรียมพร้อมอุปกรณ์หากเกิดอุทกภัย กรณีที่อุปกรณ์ไม่เพียงพอ ในส่วนพื้นที่อื่น อย่างโซนใต้ ปริมาณฝนตกค่อนข้างน้อย แต่ในลำน้ำป่าสักยังพอมีน้ำ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้สั่งให้หน่วยที่ดูแลระบบประปา ในพื้นที่โซนล่างให้มีการเก็บกักน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ไปสู่สระกักเก็บน้ำดิบของระบบประปา ไม่ว่าจะเป็นประปาภูมิภาค ประปาท้องถิ่น รวมถึงประปาหมู่บ้าน    

   รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์เอลนีโญ อยากฝากพี่น้องเกษตรกร ต้องมีการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ของตนเองว่ามีน้ำเพียงพอหรือไม่ หรืออาจจะปรับเปลี่ยนจากพืชใช้น้ำมาก มาเป็นพืชใช้น้ำน้อยแต่ยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจของเรา หรืออาจจะลดพื้นที่เพาะปลูกลง แต่หากเกษตรกรท่านใดมีการเพาะปลูกไปแล้ว และได้รับผลกระทบ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางราชการ ก็จะมีงบประมาณในการช่วยเหลือ ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มอบให้เกษตรจังหวัด ประสานไปยังเกษตรอำเภอทุกอำเภอในการสำรวจอยู่ตลอด ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ ก็ให้แจ้งความช่วยเหลือมาทางจังหวัดเพื่อจะได้ส่งต่อไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป




เพชรชัยออนไลน์


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.