โครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยฯ ภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอฯ
เพชรบูรณ์-เรือนจำชั่วคราวแคน้อย จัดพิธีปิดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รุ่นที่ 14 ภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 น. นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์
เป็นประธานในพิธีปิดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(หลักสูตร 5 เดือน)
ภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ดำเนินการโดยเรือนจำชั่วคราวแคน้อย สังกัดเรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ
อาคารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ภายในเรือนจำชั่วคราวแคน้อย
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
โดยมี นางละออง อยู่ยั่งยืน ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์
กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนางแก้วใจ สังข์แสง ผู้อำนวยการส่วนพัฒนา 2
และกำกับดูแลเรือนจำชั่วคราวแคน้อย, นางสาวปัทมา ประสิทธิ์เขตกิจ หัวหน้าเรือนจำชั่วคราวแคน้อย
หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ, พร้อมบุคคลากรเรือนจำฯ และ
สมาชิกผู้ต้องขัง ร่วมกิจกรรม
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิด ทัศนคติ
ให้สมาชิกโครงการกำลังใจ รู้จักการใช้ชีวิตแบบ พออยู่ พอกิน พอประมาณ มีเหตุมีผล
ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย แก่ผู้ต้องขัง
โครงการกำลังใจ และเสริมสร้างความรู้ พัฒนาอาชีพ
เกิดแรงจูงใจในการกลับตนเป็นพลเมืองที่ดี ประกอบอาชีพที่สุจริต
และสามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำได้
เรือนจำชั่วคราวแคน้อย สังกัดเรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์
จึงได้ดำเนินงานโครงการกำลังใจ ในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในเรือนจำ ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น 13 รุ่น โดยเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เพื่อให้ผู้ต้องขังเกิดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ
พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
ทั้งยังเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป
สำหรับการอบรมโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ 14 มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 112 คน มาจากเรือนจำ ทัณฑสถาน จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ 35 คน ทัณฑสถานหญิงกลาง 26 คน ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก 20 คน และทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ 31 คน
โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน
ส่งเจ้าหน้าที่มาเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้ ประกอบด้วย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา)
ยามยากสภากาชาดไทย บริษัทเงินติดล้อ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเพชรบูรณ์
สำนักงานยุติธรรมฯ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ฯ สำนักงานจัดหางานฯสำนักงานวัฒนธรรมฯ
สำนักงานประกันสังคมฯ สำนักงานเกษตรฯ สถานีพัฒนาที่ดินฯ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ฯ สำนักงานสาธารณสุขฯ วิทยาลัยเทคนิคฯ
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบูรณ์.
ไม่มีความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น