Facebook

จังหวัดเพชรบูรณ์​ ขอเชิญเที่ยวงานอุ้มพระดำน้ำ​ประจำปี​ 2567 ระหว่าง​ วันที่​ 27 ก.ย.​ - 6 ต.ค.​67

วว. ร่วมกับ มรภ. เพชรบูรณ์ เตรียมยกระดับเศรษฐกิจฐานราก พร้อมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU ) ว่าด้วย "การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ "

 

          เพชรบูรณ์-ชุมชนท้องถิ่น วว. ร่วมกับ มรภ. เพชรบูรณ์ เตรียมยกระดับเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมลง MOU  ว่าด้วย "การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์

         วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ห้องประชุมศรีชมภู อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ชุมชนท้องถิ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (มรภ.) ได้ร่วมกันแถลงข่าว เปิดโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU ) ว่าด้วย "การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ "

         โดยมีนายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล นายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ผศ.ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร. ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ศ.ดร.ภญ.มาลิน อังสุรังษี กรรมการบริษัท S&J International EnterprisesPublic Company Limited นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ และจัดการนวัตกรรม วว.  ผศ.ดร.กาญจน์ คุ้มทรัพย์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร ทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นเกียรติในพิธี


        ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสังคมสู่ความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการบูรณาการความร่วมมือ เพื่อสนองตอบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แล ะนโยบายของกระทรวง อว. ที่ต้องการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในด้านเกษตร จุสินทรีย์อาหาร และเวชสำอาง รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

       ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. และมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ดำเนินงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2564 มุ่งเน้นการพัฒนาตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy เพื่อนำนโยบายของรัฐบาลมาปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ดำเนินการให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของจังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างคุ้มค่า 

       การลดของเสีย การนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพื่อสร้างและรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ หรือ อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติ ร่วมมือพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติด้านการวิเคราะห์ทดสอบและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ กระตุ้นให้เกิดการนำรายได้คืนสู่การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งชุมชน ท้องถิ่น ที่เป็นฐานรากของทรัพยากร อันจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึง (Inclusive growth) มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ เป็น 1 ใน 8 ของประเทศ ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จากงบประมาณ 1ล้านๆบาท ของรัฐบาล

       ด้าน ผศ.ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ยึดปรัชญาการเป็น "มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ที่ผ่านมามหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร เพื่อนำองค์ความรู้ต่าง ๆที่มีอยู่ ไปขับเคลื่อนให้ สำหรับความร่วมมือที่ได้รับการอนุเคราะห์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วว. ในครั้งนี้ นับจากนี้ไปมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ จะนำองค์ความรู้ต่างๆของทั้ง วว.หรือ มหาวิทยาลัยฯ ร่วมกันลงไปขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจของชุมชนฐานราก รวมทั้งการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่

       ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในเรื่องของการแปลงรูปสินค้าทางการเกษตร พืช ผัก ผลไม้และสมุนไพร ต่างๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิจิตร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ และงานวิจัยต่าง ๆ ร่วมกันต่อไปในอนาคต

      โอกาสเดียวกันนี้ ศ.ดร.ภญ.มาลิน อังสุรังษี กรรมการบริษัท S&J International EnterprisesPublic Company Limited ก็ได้มอบเครื่อง Cold press (เครื่องสกัดน้ำมัน) มูลค่า 7 หมื่นบาทเศษ เพื่อใช้ในงานวิจัย ให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ อีกด้วย.













 เพชรชัยออนไลน์

 

 

 

 

 


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.