Facebook

จังหวัดเพชรบูรณ์​ ขอเชิญเที่ยวงานอุ้มพระดำน้ำ​ประจำปี​ 2567 ระหว่าง​ วันที่​ 27 ก.ย.​ - 6 ต.ค.​67

ปัญหาการประมูลขายสินค้าในงานประเพณี อีกหนึ่งช่องทางนำไปสู่การทุจริต ใครได้ใครเสีย ไม่รู้

 ปัญหาการประมูลขายสินค้าในงานประเพณี  

อีกหนึ่งช่องทางนำไปสู่การทุจริต ใครได้ใครเสีย ไม่รู้.....

ขุนพลเพชรบูรณ์

      นับจากนี้ไปเราจะได้เห็นการจัดงานประเพณีต่างๆ มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง การค้าการขายก็เริ่มสะดวกมากขึ้น ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะในปีนี้ จะเห็นว่าในจังหวัดเพชรบูรณ์ หลายแห่งเริ่มมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์งานประเพณีต่างๆ ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ ประเดิมงานแรกด้วยงานเกษตรแฟร์ ตามด้วยงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ งานใหญ่ระดับจังหวัด แว่วว่างานนี้ในปีนี้จัดเต็มรูปแบบ 

     คาดว่าจะมีผู้มาท่องเที่ยวจำนวนมาก เศรษฐกิจ การเงิน ก็จะเริ่มดีขึ้น งบประมาณที่ใช้ในการจัดงานในครั้งนี้ก็คงมากพอสมควร การควบคุมดูแลรับผิดชอบในส่วนงานด้านต่างๆ ก็จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในแต่ละด้านแต่ละคณะได้ดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้การจัดงานเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่มีอุปสรรค 

     โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมาดำเนินการ หรือ จากเอกชน ผู้ที่ให้การสนับสนุน เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต แต่ถึงกระนั้นแล้วปัญหาใช่ว่าจะไม่มี เพราะไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ หรือจะเป็นการจัดงานประเพณีหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอ ตามสถานที่ราชการต่างๆ มักจะมีการใช้สถานที่ราชการ จะด้วยการประมูลหรือขออนุญาตใช้สถานที่ราชการ ใช้ประโยชน์จาก ถนนหลวง ทางเท้า ก็มักจะมีข่าวหนาหูเรื่องเงินทอง เข้ามาเกี่ยวข้อง จนเป็นที่คุ้นชินและยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันเรื่อยมา ถือเป็นช่องทางหนึ่งในการทุจริต ที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน 

     โดยเฉพาะปัญหาการประมูลงานของเอกชน หรือ เหล่าคาราวานสินค้า ต่างๆ ที่ได้รับมาจากผู้จัดงานจัดสรรพื้นที่เพื่อให้ผู้ขายสินค้าเช่าขายสินค้า ที่หน่วยงานนั้นๆ อ้างเสมอมาว่ามีผู้ประมูลไปแล้ว แต่เมื่อมองลึกลงไป หรือติดตามดูจะพบว่า ผู้ประมูลงานใหญ่ๆ สำคัญๆ แต่ละครั้ง ก็จะเป็นเจ้าเดิม รายเดิม ในการประมูลงานในแต่ละงานมีตัวเลขค่อนข้างสูง ส่วนจะมีใครได้ใครเสีย ไม่รู้

     เพราะการประมูลงานแต่ละครั้ง ดูไม่มีความโปร่งใส ไม่มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลเป็นการทั่วไป อีกทั้งเงินรายได้จากการประมูล ที่มองว่าน่าจะถือเป็นรายได้ที่จำต้องนำเข้าหลวง หรือไม่อย่างไร และในแต่ละครั้งได้ดำเนินการตามขั้นตอน ตามระเบียบว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของทางราชการ หรือไม่ มันเป็นคำถามที่ผู้คนเขาเคลือบแคลงสงสัย 

     หากการดำเนินการโดยวิธีการประมูล ไม่มีการดำเนินการในส่วนนี้อาจนำไปสู่การทุจริตได้ และจากแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ OIT ที่ ป.ป.ช. เองต้องการอยากเห็น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ในตัวชี้วัดการเปิดเผยข้อมูล และป้องกันการทุจริต สำหรับการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ก็ยังถือว่าไม่บรรลุผล

      ที่สำคัญรายได้จากการประมูลฯ แต่ละครั้งเงินไปไหนใครรับผิดชอบ เรื่องนี้ฝากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบนำไปพิจารณาหาทางแก้ไขด้วย อีกทั้งการเข้ามารับงานในส่วนของการขายของในพื้นที่ที่นอกเหนือจากที่รัฐจัดงาน การมีส่วนร่วมจึงไม่ได้เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่เป็นผู้ประมูล ที่ได้ผลประโยชน์จากการจัดงานเท่านั้น.

ขุนพลเพชรบูรณ์

 


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.