Facebook

จังหวัดเพชรบูรณ์​ ขอเชิญเที่ยวงานอุ้มพระดำน้ำ​ประจำปี​ 2567 ระหว่าง​ วันที่​ 27 ก.ย.​ - 6 ต.ค.​67

ปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำนางั่ว กำหนดสร้างเสร็จในปี 2572

 


     เพชรบูรณ์-คณะผู้แทนจากกรมชลประทานและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำนางั่ว

     วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30 น.ถึง 16.30 น. คณะผู้แทนจากกรมชลประทานและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วยบริษัท มหานคร คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอ็นแคด คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้จัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำนางั่ว จังหวัดเพชรบูรณ์  ณ หอประชุมเทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 

      โดยมีนายนิคม วงศ์ก่องแก้ว วิศวกรโยธาปฏิบัติการ ผู้แทนกรมชลประทาน กล่าวรายงาน และ นายสมบัติ มีลักษณะสม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมกันนี้ ได้มีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และผู้สนใจ เข้าร่วมประชุมรับฟังและแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

      สำหรับโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำนางั่ว จังหวัดเพชรบูรณ์ นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านจะวะสิต ตำบลริมสีม่วง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ 102 ไร่ ลักษณะของเขื่อน จะเป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ตัวเขื่อนยาว 18 เมตร สูง 41 เมตร ขนาดความจุ 10.17 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะเสร็จในปี 2572 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี


     ตามที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยการพัฒนาแหล่งน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และ พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 25 สิงหาคม 2548 สรุปความได้ว่าควรพิจารณาวางโครงการเก็บกักน้ำตอนบนของลำน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักไว้ให้มาก เพื่อใช้ด้านการเกษตรและป้องกันอุทกภัย เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนป่าสัก มีมากให้พิจารณาจัดเก็บกักให้เหมาะสม ประกอบกับความเดือดร้อนของราษฎรตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประสบปัญหามีแหล่งน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ อีกทั้งในช่วงฤดูฝนพื้นที่การเกษตรและชุมชนในเขตตำบลนางั่ว จะได้รับผลกระทบจากน้ำหลากที่มาจากพื้นที่ต้นน้ำ ราษฎรในพื้นที่จึงประสานหน่วยงานราชการผ่านทางผู้แทนราษฎร

    เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยได้ทำหนังสือถึงกรมชลประทาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 ขอให้สำรวจและจัดทำโครงการอ่างเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการศึกษาจัดทำรายงานวางโครงการเบื้องต้น (Reconnaissance Report) เพื่อพิจารณาตรวจสอบความเป็นไปได้

      ในเบื้องต้นผลการศึกษาสรุปได้ว่า โครงการอ่างเก็บน้ำนางั่ว มีความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมในการพัฒนาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ และต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ.2552 กรมชลประทานได้จัดทำรายงาน

วางโครงการ (Pre-feasibility  Study) โครงการอ่างเก็บน้ำนางั่ว อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางดำเนินการต่อไป

      ดังนั้น กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วยบริษัท มหานคร คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอ็นแคด คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินศึกษาโครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำนางั่ว จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ กรมชลประทานได้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

      โดยได้กำหนดให้มีการดำเนินกิจกรรมด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการประชุมปฐมนิเทศโครงการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2562 และการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 และ ครั้งที่ 2 เมื่อ 21 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลนางั่ว ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการ

     เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาทั้งหมดของโครงการในทุกประเด็น ทั้งทางด้านการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ด้านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการลดผลกระทบและมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบและด้านเศรษฐศาสตร์

      รวมถึงผลการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมา ให้กลุ่มเป้าหมายของโครงการได้รับทราบ และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ โครงการ ตลอดจนสภาพปัญหา ข้อวิตกกังวลในพื้นที่ต่อประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง  

      โดยมีนายสนิท พิริยะพงศ์พันธ์ ผู้จัดการโครงการ ได้นำเสนอความก้าวหน้าการศึกษาด้านต่างๆ ของโครงการ ขณะที่นายกฤษดารักษ์ แพรัตกุล ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ก็ได้นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ของโครงการ พร้อมกันนี้ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมตอบข้อซักถาม โดยดร.อัจฉรา กลิ่นสุคนธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกด้วย.
















เพชรชัยออนไลน์

 

 


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.