Facebook

ด๊อกเตอร์อ้อเดินหน้า ผลักดันโครงการ soft power ต่อยอด โครงการรวมพลังบวรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ทอง ตำบลนาตระกุด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

 

มทร.อีสาน ยกระดับอาชีพภาคเกษตร

เยียวยาเกษตรกรที่รับผลกระทบโควิด-19

      พิษณุโลก-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ ทั้ง 6 ด้าน เร่งเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

      เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานปิดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรม ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

       โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ,ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการฯ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ร่วมพิธีปิด

       รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ตามที่คณะทำงานโครงการอบรมฯ โดยการนำของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ และคณะวิทยากร ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 6 ภาค ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมานั้น ทำให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนทั้ง 2574 กลุ่ม ได้มีการยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ทั้ง ด้าน ครอบคลุมทั้งด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคติดเชื้อโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการยังจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปเป็นทุนตั้งต้น


       ด้าน ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย ความมั่นคงทางอาหาร ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

      เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้วโครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

       สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ในครั้งนี้ เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย.







นที บุญรอด

เพชรชัยออนไลน์

 

 


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.