ทอดกฐินสามัคคีวัดอภัยมณีรัตน์
สงเคราะห์ให้พระภิกษุสงฆ์
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00 น. ที่วัดอภัยมณีรัตน์ ตำบลห้วยโป่ง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีพิธีทำบุญทอดกฐินสามัคคี โดยมีนางณปภัช ตรีเนตร เป็นประธานฯ นายทองวาลย์ เสนานุช กำนันตำบลห้วยโป่ง กรรมการวัด คณะศิษย์พระธรรมกาย ญาติ-โยม ลูกศิษย์ ตลอดจนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทอดถวาย
ภายใต้มาตรการป้องกัน covid 19 อย่างเข้มงวด ในงานมีคณะนางรำจากกลุ่มสตรีตำบลห้วยโป่งร่วมรำในพิธี มีการตั้งโรงทานจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธานำอาหารหวาน-คาว มาให้บริการกับประชาชนผู้มาร่วมงานได้รับประทานฟรี ไม่ว่าจะเป็นผัดหมี่แดงจากคุณติ้ง และ กลุ่มสตรีตำบลห้วยโป่ง โดยการนำของนายทวี ปานจันทร์ อดีตกำนันตำบลห้วยโป่ง ก๋วยเตี๋ยวมะระจากร้านระเบียงนา 189 กม.13 ตำบลห้วยโป่ง ของนายสุรสิทธิ์ จันททักษ์ ก๋วยจั๊บ อาหารและขนม จากร้านฮัลโหลคาเฟ่ (Hello Café) สนับสนุนโดยร้านโนรีไทยออนเบเกอรี่ แอลเอ สหรัฐอเมริกา มีส้มตำ ไก่ย่าง จากร้านช.กังวาน ตำบลหนองไผ่ ยำใหญ่จากครอบครัวนายทองวาลย์ เสนานุช กำนันตำบลห้วยโป่ง ฯลฯ บรรยากาศภายในวัดเป็นไปอย่างคึกคักได้ปัจจัยประมาณ 2แสน บาท
สำหรับคำว่ากฐิน (บาลี: กฐิน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุดดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ
การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน[1] ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย…….ที่มา วิกิพีเดีย
ส่วนธงกฐินทั้ง ๔ คือ จระเข้ นางมัจฉา ตะขาบ และเต่า เป็นปริศนาธรรม ของคนโบราณ ๑) จระเข้ หมายถึง ความโลภ (ปากใหญ่ กินไม่อิ่ม) ๒) ตะขาบ หมายถึง ความโกรธ (พิษที่เผ็ดร้อน เหมือนความโกรธ ที่แผดเผาจิต) ๓) นางมัจฉา หมายถึง ความหลง (เสน่ห์แห่งความงาม ที่ชวนหลงใหล).
ไม่มีความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น