Facebook

ด๊อกเตอร์อ้อเดินหน้า ผลักดันโครงการ soft power ต่อยอด โครงการรวมพลังบวรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ทอง ตำบลนาตระกุด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

 

รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ

ลงพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ


         เพชรบูรณ์-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพหารือสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

           วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม    และคณะวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) ร่วมกับสถาบันวิจัยซินโครตรอน ลงพื้นที่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ สร้งการรับรู้ รับทราบข้อมูล  และบูรณาการองค์ความรู้ด้านการศึกษา การวิจัย  และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยมี นายนิเวศน์ หาญสมุทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายอำเภอศรีเทพ หัวหน้าส่วนราชการ  ให้การต้อนรับ


          ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กระทรวง อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีแนวความคิดที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทสที่มีรายได้สูง และพัฒนา ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่จะให้ภายในปี 2580 ประเทศไทยต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กระทรวงอุดมศึกษาฯ จึงกำหนดไว้ 10 ปี จะทำให้กระทรวงช่วยขยับประเทศไทยให้เข้าสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยวางไว้ 2 แนวทางในการขับเคลื่อน คือ ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกด้านคือ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรศิลปะและวัฒนธรรม  ศรีเทพ เป็นโบราณสถานที่สำคัญมาก เป็นแหล่งที่แสดงถึงหลายอารยธรรมที่มาหลอมรวมกันได้ เมืองโบราณศรีเทพจึงมีสถานะทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่สูงมาก ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่ามากๆ อยากให้จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัด ต้องสอนเรื่องศรีเทพให้ทุกคนตระหนักถึงสิ่งสำคัญที่มีคุณค่าแห่งนี้

            ทั้งนี้เมืองโบราณศรีเทพอยู่ระหว่างการเสนอเป็นมรดกโลก  เป็นเมืองที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นเมืองที่มีความสำคัญมากในสมัยทวารวดี มีการติดต่อรับคติความเชื่อทางศาสนา ทั้งพุทธศาสนาแบบเถรวาท มหายาน และศาสนาฮินดู มีการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมใกล้เคียงตั้งแต่วัฒนธรรมอินเดีย วัฒนธรรมเขมร และวัฒนธรรมทวารวดีจากแหล่งอื่นๆ โดยยังหลงเหลือหลักฐานทางโบราณคดีและงานศิลปกรรม สามารถแสดงความเป็นศูนย์กลางของอารยธรรม แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่ต่างศาสนาในระยะเวลาเดียวกัน เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางที่เชื่อมโยงเส้นทางสัญจร







ปชส.เพชรบูรณ์

เพชรชัยออนไลน์

 


ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.