สภาเกษตรกรเพชรบูรณ์
ติดตามการปลูกข้าวพันธุ์กลาย
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา นายปณวัฒน์ วงศ์สนั่น
หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย
นายวชิรพงศ์ พุทธรักษ์ หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร
สภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ และนายมานพ วุฒิยาลัย กำนันตำบลนาเฉลียง
ได้ร่วมกันลงพื้นที่ติดตามโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมข้าวภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยทางด้านข้าวเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมพัฒนาเกษตรกรและบุคลากรระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์
และ
เพื่อที่จะส่งเสริมในการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการทำนาให้กับเกษตรกรชาวนา
ในจังหวัดเพชรบูรณ์
โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ได้นำข้าวพันธุ์กลายสายพันธุ์
มช 10-1 (FRK) ที่ให้ผลผลิตสูง
มาทดลองปลูกในแปลงนาสาธิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พื้นที่บ้านวังรี ตำบลนาเฉลียง
อำเภอหนองไผ่ ทั้งหมด 35 ไร่ ให้เป็นพื้นที่เป้าหมาย เป็นพื้นที่นำร่อง มีการทดลองปลูกทั้ง
แบบหว่านแห้ง แบบหว่านน้ำตม และ แบบปักดำ
โดยทั้งหมดนี้ได้เนินการตามขั้นตอนที่ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนด
และจะเอาพันธุ์ข้าวอีก 2-3 สายพันธุ์มาทดลองปลูกอีกด้วย
นายปณวัฒน์ฯ กล่าวว่า
ที่ผ่านมาการปลูกข้าวของเกษตรกรประสบปัญหาด้านสายพันธุ์ต่างๆ
ที่ปลูกพันธุ์ข้าวหอมแต่ท้ายที่สุดก็มีปัญหาเรื่องราคาในภาคการตลาดที่รองรับอยู่ก็ติดเงื่อนไขเรื่องของการที่จะกำหนดราคาที่ต่ำ
เนื่องจากข้าวที่มองว่าคุณภาพที่ไม่สู้พอ มีลักษณะของพันธุ์ปนอยู่เยอะ
จากความร่วมมือตรงจุดนี้ก็มองว่าน่าจะเป็นโอกาสของเกษตรกรในการที่จะนำข้าวพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์โดยเทคโนโลยีทางด้านการใช้ทางหลักฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่พัฒนาพันธุ์ให้เกิดคุณลักษณะที่ดีขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคุณภาพและปริมาณผลผลิตต่อไร่
ซึ่งจากการได้ลงพื้นที่ดูงานในหลายพื้นที่ที่ได้ดำเนินการไป ค่อนข้างชัดเจนในเรื่องผลผลิตที่ออกมาที่มีปริมาณที่สูงขึ้นกว่าปกติ
ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นแหล่งผลิตข้าวขนาดใหญ่
จึงอยากให้เกษตรกรได้ใช้นวัตกรรมที่ดีเหล่านี้ จึงเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 ในวันนี้ได้ลงมาติดตามในครั้งแรก
จากข้อมูลพบว่าข้าวพันธุ์กลายสายพันธุ์ มช 10-1 (FRK) ให้ผลผลิต 1,056 กิโลกรัม/ไร่ ที่ความชื่น14 % (ปลูกที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่) มาทดสอบ
คุณลักษณะเด่นที่สำคัญได้แก่
1.เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงอ่อน
2.ผลผลิตประมาณ 1 ตันต่อไร่
3.มีกลิ่นหอม (2AP) มากกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105
4.คุณภาพการหุงต้มรับประทานเท่ากับข้าวขาวดอกมะลิ 105
5.ต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ทั้งนี้มีเป้าหมายให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นเป้าหมายหลัก
แนวความคิดในการแก้ไขปัญหานี้ มีความเป็นไปได้แค่ 2 แนวทางคือ 1.ลดต้นทุนการผลิต 2.เพิ่มผลผลิตข้าวในแปลงจากการสำรวจข้อมูลจากเกษตรกร
แล้วเห็นว่าแนวทางการลดต้นทุนการผลิตเกษตรกรยังไม่สามารถดำเนินการได้
จึงพิจารณาใช้แนวทางที่ 2 เป็น แนวคิดในการแก้ไขปัญหาแทน
จึงได้ประสานความร่วมมือสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีและพบว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นหน่วยวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีลำไอออนต่ำ
ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ซึ่งเป็นการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ 105
ข้าวสังข์หยด ข้าว กข. 6 ซึ่งใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ 2 ปีครึ่ง
จะได้ข้าวพันธุ์กลายสายพันธุ์ใหม่ที่มีความเหมาะสมให้ผลผลิตสูง.
เพชรชัยออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น