เลขา สกช.ให้แนวทาง
เลขา สกช.ให้แนวทาง
การขับเคลื่อนแผนแม่บท
เพชรบูรณ์-เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “แผนชุมชนทางออก ทางรอด ของเกษตรกรไทย” การจัดทำแผนแม่บทเป็นสิ่งที่ชุมชนจะต้องปรับกระบวนท่า
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม ภูแก้วรีสอร์ท แอนด์ แอดเวนเจอร์ พาร์ค ตำบลแค้มป์สน
อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 4
ภาค “สกช.คิดใหม่มองไกล ก้าวไปด้วยกัน แผนชุมชนต้นทุนแห่งอนาคต” โดยมีนายประพัฒน์
ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2564 มีหน่วยงานภาครัฐ สมาชิกสภาเกษตรกรจาก 17 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วมฯ
ในโอกาสเดียวกันนี้ นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “แผนชุมชนทางออก ทางรอด ของเกษตรกรไทย” ภายหลังบรรยายพิเศษ นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องของสภาเกษตรกรเป็นความสำคัญในลำดับต้นๆ เรื่องของแผนแม่บทเกษตรกรรมระดับตำบลแบบมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ชุมชนจะต้องปรับกระบวนท่า ปรับกระบวนทัศน์ในการที่จะพัฒนาเกษตรกรในยุคโลกอนาคต การแข่งขันมันมีสูงขึ้น ปัญหาภาคเกษตรเรา บางเรื่องไม่สามารถแก้ไขได้เลยถ้าขาดการมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการแก้ปัญหาของชุมชนเราจะให้ชุมชนให้เขามีวิธีคิดของเขาเองเพราะชุมชนรู้ปัญหา รู้เรื่องดีที่สุด รู้กว่าภาครัฐ ได้วิธีคิดแล้วจะได้วิธีการจัดการชุมชน ซึ่งเรื่องนี้ถ้าทำต่อเนื่องจากความสำเร็จมันจะเกิดความยั่งยืน
ด้านงบประมาณ หลักคือเรามีงบประมาณให้จังหวัดนำร่อง
ในปีนี้จังหวัดละ 1 ตำบล ให้นำร่องทำให้สมบูรณ์แบบเลยทำให้เห็นเป็นรูปประธรรม
เราใช้กองทุนลักษณะกองทุนที่เป็นกองทุนจิตอาสาที่เป็นกองทุนของภาคเอกชนมาร่วมสนับสนุน
เพื่อที่จะให้เกิดภาพเรื่องนี้ใช้งบประมาณไม่มาก สำคัญคือเกษตรกร
เราจะต้องสื่อสารเกษตรกรให้ต่อเนื่องให้เห็นความสำคัญว่าทำไมจะต้องมีเวทีอย่างนี้ปัญหาเราจะที่ผ่านมาถ้าจะให้ภาครัฐแก้ปัญหาอย่างเดียว
ภาครัฐสังกัดหลายกระทรวงหลายกรม การแก้ปัญหาเขาจะแก้ปัญหาตามเฉพาะกรอบของงบประมาณของเขาเท่านั้นเอง
กรอบของแผนงานของเขา
เพราะฉนั้นถ้าเราเปิดเวทีซึ่งเป็นเวทีเปิดกว้างไม่จำกัดขอบเขตของการคิด
ความหมายมันจะมีมากขึ้นต่อความการแก้ปัญหาของเกษตรกร
จังหวัดเพชรบูรณ์ต้นทุนในเรื่องของภาคเกษตรเราแข็งแข็งมากไม่ว่าเป็นพื้นที่
ไม่ว่าเกษตรกรแต่ สำคัญก็คือว่าการทำงานร่วมกันที่จะเกิดภาพ
จากพื้นที่ให้ถึงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกเราต้องทำยังไง จะต้องสร้างเกษตรกรต้นแบบเราจะต้องสร้างศูนย์เรียนรู้ จะต้องสร้างการเรียนรู้ให้เกษตรกรเยอะๆ
เพชรบูรณ์สามารถทำได้ ได้เห็นภาพของการบูรณาการทำงานของเพชรบูรณ์แล้วไม่ว่าเป็นภาคเอกชน
ไม่ว่าเป็นภาคของธุรกิจ ไม่ว่าเป็นภาคเกษตรกร เห็นภาพของการทำงานแล้วขณะนี้
เกิดภาพเป็นรูปธรรมขึ้นหลายๆพื้นที่ หลายอำเภอซึ่งตรงนี้
ถ้าขยายผลอย่างต่อเนื่องเพชรบูรณ์จะเข้มแข็งมาก โดยเฉพาะพื้นฐานการเกษตรดีอยู่แล้ว.
เพชรชัยออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น