Facebook

ด๊อกเตอร์อ้อเดินหน้า ผลักดันโครงการ soft power ต่อยอด โครงการรวมพลังบวรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ทอง ตำบลนาตระกุด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

โรงเรียนวังโป่งศึกษา รับโล่รางวัล
นวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่


    เพชรบูรณ์- โรงเรียนวังโป่งศึกษา รับโล่รางวัลนวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ ระดับดีเด่น จากเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
    วันที่ 5 กันยายน 2563 เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน Smoke-free School Innovation 2020 ในเขตภาคเหนือ ขึ้นที่ ห้องประชุมนครบาล โรงแรมโฆษิตฮิลล์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อมอบรางวัลนวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่ดำเนินงานนวัตกรรมดีเด่นในการควบคุมยาสูบ
    โดยในภาคเหนือมีโรงเรียนที่พัฒนานวัตกรรมทั้งหมด 29 แห่งซึ่งมี 11 แห่งที่ได้รับโล่นวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ระดับดีเด่น
    1.โรงเรียนวังโป่งศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ นวัตกรรมเครือข่ายดาวกระจายไร้ควัน โดยทำให้เกิดเครือข่ายการรณรงค์สู่ชุมชน ซึ่งมีนักเรียนแกนนำเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและภาคีเครือข่ายในอำเภอร่วมขบวนและประกาศนโยบายอำเภอวังโป่งปลอดบุหรี่โดยนายอำเภอด้วย
    2โรงเรียนบ้านในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน นวัตกรรมสร้างบ้านปลอดบุหรี่เสริมสร้างทักษะชีวิต (การปฏิเสธ การแก้ปัญหา สร้างภูมิคุ้มกัน) ด้วยกิจกรรม “Happy at home” ส่งเสริม ให้เด็กทำกิจกรรม ดนตรี-กีฬา-ศิลปะ-สิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรมพื้นบ้าน และ สื่อสารพิษภัยบุหรี่ไปยังผู้ปกครอง
    3.โรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืน จังหวัดเชียงใหม่นวัตกรรม Walk Raly 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ สู่สถานศึกษาปลอดบุหรี่ โดยให้เด็กนักเรียนเรียนรู้เรื่องบุหรี่ผ่านการเล่นเกม เช่น ปริศนาคำทายโรคร้ายจากควันบุหรี่ การทดลองสารทาร์ ในควันบุหรี่ ปีศาจร้ายในควันบุหรี่
    4.โรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยาคม จังหวัดเชียงราย นวัตกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มสูบบุหรี่ โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกระบวนการให้เด็กกลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองดูแลรับผิดชอบกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเองและฝึกทักษะอาชีพในอนาคตเช่นการเลี้ยงกบ เลี้ยงหมู ฯลฯ



    ศาสตราจารย์นายแพทย์(ศ.นพ.) ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ในแต่ละปีประเทศไทยมีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้น 2 แสนคน โดยอายุเฉลี่ยของการติดบุหรี่อยู่ที่ 17 ปีเศษ ซึ่งนักสูบหน้าใหม่เหล่านี้ 70% จะเลิกสูบไม่ได้ไปตลอดชีวิต และนอกจากเสพติดแล้วครึ่งหนึ่งของเด็กที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ จะป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาด้วยโรคต่างๆที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทุกฝ่ายในสังคมไทยจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบ ในการป้องกันเด็กไทยจากการเสพติดบุหรี่
    ในโอกาสนี้ได้เปิดเผยมูลสำรวจของหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบภาคเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดย ผศ.ดร.จักรพันธ์ เพชรภูมิ หัวหน้าโครงการวิจัย สรุปผลสำรวจการเข้าถึงยาสูบของนักเรียนชั้น ม.2 จำนวน 3,982 คนทั่วประเทศจาก 4 ภาค ภาคละ 1 อำเภอ ผลคือนักเรียนส่วนใหญ่แม้จะมีทัศนคติไม่ดีต่อการสูบบุหรี่ แต่ความรู้เรื่องสารพิษในบุหรี่ในระดับต่ำ และรับความเสี่ยงของการเป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในระดับปานกลาง ขณะที่การเข้าถึงยาสูบยังง่ายมาก โดย 63.75% ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบจากร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายของชำ โดยที่ 37.26% ไม่เคยถูกปฏิเสธจากร้านค้า 60.13% ซื้อแบบแบ่งเป็นมวน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเดือนละ 93 บาท 30.63% ขอจากเพื่อนหรือขอซื้อต่อจากเพื่อน ทั้งนี้ยังพบว่า 41.06% สูบในบ้านหรือบ้านเพื่อน 46.35% มีความคิดที่จะเลิกแต่ไม่เคยลงมือเลิก “ข้อมูลเหล่านี้แสดงถึงความสำคัญของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งครอบครัว โรงเรียนและชุมชน ต้องมีส่วนร่วมกันอย่างแข็งขันมากขึ้น ในการป้องกันเด็ก ๆ จากการเสพติดบุหรี่” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
    นางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง คณะกรรมการบริหารเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ กล่าวว่า เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ ได้ขับเคลื่อนโครงการพัฒนานวัตกรรมโรงเรียนปลอดบุหรี่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและยกระดับดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม กับกลุ่มเป้าหมายเครือข่ายโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ ได้สร้างไว้ โดยเป็นการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมการดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่ จากการใช้ 7 มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ที่มีมติการดำเนินงานแต่ละมาตรการในเชิงลึก วัดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมตามหลักวิชาการ






   เพชรชัยออนไลน์




ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.