Facebook

ด๊อกเตอร์อ้อเดินหน้า ผลักดันโครงการ soft power ต่อยอด โครงการรวมพลังบวรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ทอง ตำบลนาตระกุด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

กมธ.ติวเข้มชาวนาพิจิตร
ลดต้นทุนเพิ่มรายได้


    พิจิตร-คณะกมธ. แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตเกษตร ติวเข้มชาวนาพิจิตร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตรหรือการทำนา ให้ความรู้การพัฒนาปลูกพืชแบบผสมผสาน การเลี้ยงสัตว์และการทำอาชีพอื่นๆ ควบคู่กับการทำนา ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้
  วันเสาร์ที่ 18 ก.ค. 2563 ณ ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร นางสาวปุณณรีย์ ปิยาศิษฏ์สกุล เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการและคณะ ได้จัดโครงการสัมนาของคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมขึ้น โดยมี นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ และมี นายสุรชาติ ศรีบุศกร “ ส.ส.ไก่” .ส.พปชร.พิจิตร เขต 3 และกลุ่มแกนนำเกษตรกรกว่า 300 คน เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้
  วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการจัดอบรมในครั้งนี้ ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการทำการเกษตรหรือการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้รวมถึงการให้ความรู้การพัฒนาปลูกพืชแบบผสมผสานรวมถึงการเลี้ยงสัตว์และการทำอาชีพอื่นๆ ควบคู่กับการทำนา ซึ่งปัจจุบันนี้ชาวนาพิจิตรกำลังประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ อีกทั้งปัญหาภัยแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศชาติ โดยการอบรมเรียนรู้ครั้งนี้มุ่งเน้นให้เห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมภายในศูนย์ชัยพัฒนาฯ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้เกษตรกรแบ่งเป็น 6 กลุ่ม เดินเรียนในฐานเรียนรู้ การปลูกผัก การปลูกไม้ผล การทำนา การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลานิล-ปลากัด-ปลาสวยงาม-การเลี้ยงกบ-การเลี้ยงโคนม-การเรียนรู้เรื่องดินและปุ๋ยรวมถึงพืชสมุนไพร เพื่อให้ความรู้เหล่านี้จะได้เป็นทางเลือกกับเกษตรกรที่นอกเหนือจากการทำนาได้อีกด้วย



  โดยในส่วนของวิทยากร ดร.บรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล อดีตประธานชมรมโรงสีข้าวพิจิตร ปัจจุบันผู้ประกอบการพลังงาน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงราคาผลผลิตหรือราคาข้าวของประเทศไทยในอนาคตมองว่าแนวโน้มจะให้ราคาข้าวสูงกว่าที่เป็นอยู่นี้คงเป็นไปได้ยาก ด้วยภาวะปัจจัยหลายประการ แต่ทางเลือกทางรอดของเกษตรกร คือ เกษตรกรต้องอยู่ร่วมกับสังคมพลังงาน รวมถึงต้องหาวิธีลดต้นทุน จะปลูกอะไรต้องคำนึงถึงตลาดเป็นอันดับแรก และต้องติดตามฟังนโยบายของรัฐบาลว่าสนับสนุนในเรื่องใดและอุดหนุนตามมาตรการใดบ้าง นอกจากนี้ ดร.บรรจง “เฮียเซียะ” ซึ่งเป็นนักธุรกิจส่งออกข้าว เล่าเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันนี้ตนเองผันตัวมาทำธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกื้อหนุนเกษตรกรได้ นั่นคือ เปิดธุรกิจรับซื้อใบอ้อย-ฟางในนาข้าว ซึ่งต่อไปเมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ใบอ้อยหรือฟางในนาข้าวรวมถึงเปลือกข้าวโพด ซังข้าวโพด ต้องเลิกเผา เพราะนั่นคือรายได้ส่วนหนึ่งที่ขายได้ ปัจจุบันเมื่อชาวนาเกี่ยวข้าวแล้วก็จะมีผู้ทำธุรกิจไปขอซื้อฟางข้าว-ใบอ้อย-ทุกส่วนของต้นข้าวโพด แล้วดำเนินการอัดเป็นก้อนมาขายโรงงานไฟฟ้าที่รับซื้อ กก.ละ 0.70-1.00 บาท ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลดมลภาวะ PM 2.5 และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย






สิทธิพจน์ พิจิตร



ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.