Facebook

ด๊อกเตอร์อ้อเดินหน้า ผลักดันโครงการ soft power ต่อยอด โครงการรวมพลังบวรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ทอง ตำบลนาตระกุด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

พิธีบวงสรวงเจ้าหลวงพญาภูคา



จังหวัดน่านและชาวต่างจังหวัดทำพิธีบวงสรวงเจ้าหลวงพญาภูคาเพื่อน้อมรำลึก และแสดงออก ถึงความกตัญญูกตเวที ต่อเจ้าเมือง วรนคร ในอดีต ประจำปี 63 และได้ชมดอกชมพูภูคา ที่กำลังเบ่งบานขณะนี้
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00 นที่ศาลเจ้าหลวงภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน นายชนาธิป เสมแย้ม นายอำเภอปัว เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อหลวงภูคาและทำพิธี ทางศาสนา เพื่อทำบุญอุทิศพระราชกุศลถวายเจ้าพญาภูคา เป็นการแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ต่อเจ้าเมืองวรนครในอดีต ให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ พ่อค้าประชาชนชาวจังหวัดน่าน จังหวัดระยอง และจากจังหวัดต่างๆที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาเจ้าพ่อหลวงภูคา มาร่วมในพิธี เป็นจำนวนมากกว่า 300 คน พร้อมกับได้มายลโฉมดอกชมพูพูคา ที่กำลังเบ่งบานสะพรั่งมาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาขณะนี้ก็ยังมีความสวยงามอยู่



ประวัติศาสตร์เมืองน่าน เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ.1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา และนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่างต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง(เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยว มีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวงบ้านลอมกลางเป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคาได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้นมีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทนจึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญเจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปี จึงพิราลัย



ซึ่งการทำพิธีบวงสรวงเจ้าหลวงภูคาในครั้งนี้ได้มีประชาชนทั้งในจังหวัดน่านและต่างจังหวัดต่างได้พร้อมใจกันนำสิ่งของมาบวงสรวงเพื่อเป็นการทดแทนพระคุณหลังจากได้ขอพรและประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะทางครอบครัวของ นายเมธา(ยอดแสงเงิน และคุณแม่วรรณา จำปาทอง เจ้าของกิจการเรือประมงในจังหวัดระยอง และชาวประมงในพื้นที่จังหวัดระยอง เกือบ 30 คน ต่างได้นำอาหารทะเล สด มาประกอบเลี้ยงให้กับผู้มาร่วมงานด้วย ซึ่งต่างได้บนบานสานกล่าว ขอให้กิจการเจริญรุ่งเรืองและได้สมคำปรารถนา ต่างพร้อมใจกันมาร่วมพิธีโดยในครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 7 ที่ครอบครัวของ นายเมธา(ยอดแสงเงิน และคุณแม่วรรณา จำปาทอง เจ้าของกิจการเรือประมงในจังหวัดระยอง ร่วมกันนำอาหารสดจากทะเล มาปรุงอาหารให้ผู้ร่วมงานได้ทานกันอย่างเอร็ดอร่อยอีกด้วย





ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน
โทร.084-8084888



ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.