Facebook

ด๊อกเตอร์อ้อเดินหน้า ผลักดันโครงการ soft power ต่อยอด โครงการรวมพลังบวรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ทอง ตำบลนาตระกุด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ภาค ปชช.และ 3 สมาคมสื่อ ยื่นหนังสือฯ
เร่งหามาตรการแก้ปัญหา PM 2.5


วันที่ 15 มกราคม 2563 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ นายปัณณทัต ปานเงิน ตัวแทนภาคประชาชน กลุ่มคนรักบ้านเกิดจังหวัดเพชรบูรณ์ และ สำนึกรักษ์ห้วยใหญ่ พร้อมด้วย ร.ต.ต.สุขสัณห์ ภิชัยนายวิริทธ์พล หิรัญรัตน์นายสนม บุญจันทึก ตัวแทน 3 สมาคมสื่อมวลชนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ยื่นหนังสือต่อ นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้เร่งหามาตรการแก้ไขปัญหาค่าฝุ่น PM 2.5 หลังจากเมื่อวันที่ 12 ม.ค.2563 ที่ผ่านมา ได้มีข่าวกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่องการตรวจวัดค่าPM 2.5  ที่ อ.วิเชียรบุรี และ อ.เมืองเพชรบูรณ์ รวม 2 จุด ซึ่งผลตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก  จนน่าวิตก เกรงจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ส่วนสาเหตุปัจจัยหลักเชื่อว่ามาจากการเผาไร่อ้อย โดยมีนายยชญ์สุธา วิชัยธนพัฒน์ ประธานหอการค้าเพชรบูรณ์ และ นายสุรชาติ ไตรสูงเนิน ตัวแทนพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) เพชรบูรณ์ร่วมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาด้วย
ทั้งนี้ข้อเสนอและมาตรการที่องค์กรภาคประชาชนและสื่อมวลชน ได้นำเสนอต่อทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังให้โรงงานน้ำตาลจัดหารถตัดอ้อยสนับสนุนชาวไร่อ้อยให้พอเพียงหากไม่สามารถควบคุมการเผาอ้อยได้ให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยลงควรติดตั้งเครื่องวัดอากาศ PM2.5 ในอำเภอที่สุ่มเสี่ยงเกิดปัญหามลภาวะให้ครบ ยกเลิกโครงการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลแห่งที่ 3 ต.ห้วยใหญ่ อ.เมืองเพชรบูรณ์การจัดทำงานรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ขยายพื้นที่รับฟังให้ครอบคลุมประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในระดับอำเภอและในระดับจังหวัด



ขณะที่ นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารย์ ผวจ.เพชรบูรณ์ ได้กล่าวชี้แจงว่า ทางจังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจได้มีการเรียกประชุม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและตัวแทนโรงน้ำตาลทั้ง 2 แห่ง รวมทั้งตัวแทนสมาคมชาวไร่อ้อยเข้าร่วม ซึ่งได้รับแจ้งว่านโยบายของรัฐบาลกำหนดให้หลังจากนี้อีก 3 ปี จะไม่ให้มีการเผาไร่อ้อย โดย ในปีนี้มติครม.หรือนโยบายรัฐบาลให้อ้อยที่จะเข้าที่โรงงานน้ำตาลเป็นอ้อยเผาไม่เกิน 50 เปอร์เซนต์ และ อ้อยตัดไม่เกิน 50 เปอร์เซนต์ ส่วนปีที่ 2 อ้อยเผา เหลือร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ และ ปีที่ 3 อ้อยเผาต้องเป็นศูนย์เปอร์เซนต์ ส่วนโรงงานน้ำตาล 2 แห่ง เมื่อตรวจสอบแล้วโรงงานน้ำตาลไทยอุตสาหกรรมที่ อ.บึงสามพัน มีอ้อยเผาเข้าร้อยละ 49 และอ้อยตัดเข้าร้อยละ 51 ถือว่าทำตามนโยบายรัฐบาล แต่โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองที่ อ.ศรีเทพ มีอ้อยเผาเข้าร้อยละ 63 และ อ้อยตัดเข้าร้อยละ 37 ถือว่าไม่ทำตามนโยบายรัฐบาล  โดยทางโรงงานอ้างว่าอ้อยเผามาจากจังหวดอื่น ซึ่งจะมีการประชุมอนุกรรมการบริหารส่วนท้องถิ่นเขตที่ 2 เพื่อออกมาตรการซึ่งจะต้องเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
"หลังจากออกมาตรการแล้วจะให้ทางโรงงานน้ำตาล แจ้งอ้อยที่จะเข้าโรงงานทุกวัน และ ต้องเป็นไปตามนโยบายรัฐคือ อ้อยเผาและอ้อยสดต้อง 50:50 และ ปีหน้าต้องเหลืออ้อยเผาร้อยละ 25 ให้ได้ ส่วนปัญหาการปลูกอ้อยบ้านเราปลูกไม่เข้าระบบการตัดโดยรถตัด ซึ่งการปลูกต้องมีระยะห่าง 1.5 เมตร แต่ปัจจุบันปลูกกัน 1-1.2 เมตรเพื่อให้ได้จำนวนเยอะทำให้ใช้รถตัดไม่ได้ เพราะฉะนั้นการปลูกอ้อย หนึ่งครั้ง เก็บเกี่ยวได้ 3 ปี รัฐบาลจึงให้นโยบายแล้ว ครบ 3 ปี ต้องปรับเปลี่ยนระยะการปลูกให้ห่าง 1.5 เมตร ทุกไร่ ปีนี้จึงต้องทำตามนโยบายก่อนจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้
นายสืบศักดิ์ฯ กล่าวว่า แต่หากมีการทำผิดนโยบายทางจังหวัดก็ต้องรายงานให้ทาง รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม รับทราบว่า โรงงานน้ำตาลไหนไม่ทำตามนโยบายรัฐบาล ฉะนั้นการเผาไร่อ้อยไม่ใช่รัฐบาลอยู่เฉยๆ แต่ได้พูดคุยกับสมาคมชาวไร่อ้อย และ โรงงานแล้ว เดิมการปลูกอ้อยทำเพื่อเผาแต่หากปลูกเพื่อเป็นอ้อยตัดรัฐบาลให้เวลา 3 ปี ในการปรับเปลี่ยน ส่วนเรื่องอ้อยมีคณะกรรมการนโยบายอ้อยแห่งชาติกำกับดูแลอยู่ ผู้ว่าฯมีหน้าที่ทำตามนโยบายฯ แต่หากมีอะไรก็จะต้องปรับให้ถูกต้อง ทั้งนี้ก็ต้องเห็นใจชาวไร่ที่ปลูกอ้อยกันมาเป็นวิถีชีวิตกันแบบนี้ แต่จะทำให้คนเพชรบูรณ์เดือดร้อนก็คงไม่ได้จึงต้องช่วยกันแก้ปัญหา





เพชรชัยออนไลน์



ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.