Facebook

ด๊อกเตอร์อ้อเดินหน้า ผลักดันโครงการ soft power ต่อยอด โครงการรวมพลังบวรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ทอง ตำบลนาตระกุด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

พิจิตรวิกฤตภัยแล้งแม่น้ำยมแห้งขอด
ชลประทานงดจ่ายน้ำวอนหยุดทำนาปรัง



สถานการณ์วิกฤตภัยแล้งเมืองชาละวันส่อเค้าหนักหนาสาหัสแม่น้ำยมแห้งขอด แม่น้ำน่านระดับน้ำลดลงอย่างน่าใจหาย ในคลองชลประทานไม่มีน้ำให้ทำนาปรัง ชาวนาต้องช่วยตัวเองด้วยการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ชาวบ้านเผย  น้ำท่วมดีกว่าภัยแล้ง
วันที่ 3 ม.ค. 2563 นายอำนาจ อินทร์วงศ์แก้ว ผอ.โครงการชลประทานพิจิตร เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งของพื้นที่จังหวัดพิจิตร ที่ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ซึ่งจังหวัดพิจิตรมีแม่น้ำสายหลัก 2 สาย คือ แม่น้ำยม และ แม่น้ำน่าน รวมถึงมีแม่น้ำพิจิตร อีก 1 สาย ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเกษตรกร เพราะน้ำคือชีวิต หากไม่มีน้ำก็ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า รายได้ของเกษตรกรก็จะหดหายไปด้วย แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปีนี้ต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำฝนมีน้อย อีกทั้งฝนที่ตกเหนือเขื่อนก็มีน้อยด้วยเช่นกัน ทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนต่างๆที่อยู่ทางภาคเหนือ มีปริมาณน้ำน้อย ซึ่งขณะนี้ภาพที่เห็นคือสภาพของแม่น้ำยมที่แห้งขอด โดยเหตุส่วนหนึ่งก็เกิดจากแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนในการกักเก็บน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำยมที่ไหลผ่านจังหวัดพิจิตรรวมระยะทาง 127 กิโลเมตร ขณะนี้น้ำได้แห้งลงจนเห็นหาดทรายอยู่กลางแม่น้ำยม  จะมีน้ำหลงเหลือก็อยู่เพียงเล็กน้อยตามวัง หรือ ที่ลุ่มที่อยู่กลางแม่น้ำยมเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทุกปี เกษตรกรลุ่มน้ำยมส่วนใหญ่ก็รู้สถานการณ์และมีการปรับตัวอยู่กับธรรมชาติ  ดังนั้นในช่วงนี้ชลประทานจังหวัดพิจิตรจึงขอร้องให้ลดพื้นที่การทำนาปรังรอบ 2  ทั้งพื้นที่ที่อยู่ในเขตการส่งน้ำของชลประทานและอยู่นอกเขตการส่งน้ำ รวมถึงชาวนาที่เคยอาศัยเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าสูบน้ำจากแม่น้ำน่านไปทำนาปรังปีนี้ก็ไม่อนุญาตให้สูบน้ำไปทำนาปรัง ส่วนคลองชลประทานขณะนี้ก็ประกาศงดจ่ายน้ำ  หรือ งดส่งน้ำไปให้เกษตรกรแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีน้อย ซึ่งจำนวนมวลน้ำที่มีจำกัดนี้ก็จำเป็นจะต้องมีไว้เพื่อการอุปโภค  บริโภค รักษาระบบนิเวศ เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีน้ำที่จะให้ใช้เพื่อการเกษตรดังกล่าว



 ในส่วนของ นางวราภรณ์ สมบัติวงค์ อายุ 50 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 28 หมู่ 2  บ้านวังขาหย่าง ตำบลรังนก   อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรและเป็นชาวนาในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมได้พาผู้สื่อข่าวเดินลงไปยังกลางแม่น้ำยม ซึ่งกลายเป็นหาดทรายไปแล้ว โดยได้บอกว่าน้ำในแม่น้ำยมมีสภาพแห้งขอดเช่นนี้มาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2562 สภาพที่เห็นเป็นเช่นนี้มานานนับสิบปี ไม่มีการแก้ไขเยียวยาหรือหาหนทางกักเก็บน้ำไว้ในแม่น้ำยมได้ พื้นที่ตำบลรังนกเมื่อถึงฤดูน้ำหลากแม่น้ำยมก็ล้นตลิ่ง ท้องทุ่งนาก็ถูกน้ำท่วมเป็นเช่นนี้มาโดยตลอด ตนเองในฐานะที่เป็นเกษตรกรเห็นสภาพปัญหาแล้วอยากเสนอแนะขอให้รัฐบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหาวิธีขุดสระ ขุดคลอง ขุดลอกแม่น้ำยมให้เป็นที่กักเก็บน้ำ รวมถึงสร้างฝายชะลอน้ำ สร้างประตูน้ำในแม่น้ำยมให้สามารถกักเก็บน้ำได้เป็นช่วงๆแบบขั้นบันได  ซึ่งก็เชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาภัยแล้งได้ แต่ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในตำบลรังนกโดยความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าชาวบ้านแถบนี้หรือบางคนถ้าให้เลือกระหว่างภัยแล้งกับน้ำท่วม ตนเองขอเลือก น้ำท่วมดีกว่าภัยแล้งเพราะได้หาปลา ได้ทำปลาร้า ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ขายเป็นรายได้เสริม แต่ถ้าเจอกับสถานการณ์ภัยแล้งก็จะไม่สามารถทำมาหาหากินอะไรได้เลย  นอกจากอพยพไปขายแรงงานในเมืองหลวง





สิทธิพจน์  พิจิตร

ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น


Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.