ภาคประชาชนเริ่มเคลื่อนไหว
ปัญหาค่า PM 2.5 เกินมาตรฐาน
จากข่าวกิจกรรมประชาสัมพัธ์
ของสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 ณ เวลา 10.00 น.แจ้งว่า ในห้วงตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 12 มกราคม ที่ผ่านมา ได้ทำการตรวจวัดค่ามาตรฐาน PM 2.5 พบว่าใน 2 อำเภอ ของ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ วัดค่า PM 2.5 ที่สาธารณสุขจังหวัดฯ ได้ถึง 112 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ที่ โรงพยาบาลวิเชียรบุรี วัดค่า PM 2.5 ได้ถึง 121.67 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งค่ามาตรฐาน PM 2.5 ต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงได้ให้คำแนะนำ ประชาชนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ดีพบว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากการเผาไร่อ้อยของเกษตรกร
เพราะไม่เพียงจะทำให้ค่า PM 2.5 พุ่งสูง เกินมาตรฐานแล้ว เศษใบอ้อยที่ไหม้แล้ว หรือ ที่เรียกว่า หิมะดำ
ที่เกิดจากการเผาไร่อ้อยยังปลิว ไปในอากาศตกใส่บ้าน เรือราษฎร และ ชุมชนต่างๆ เป็นวงกว้าง
ที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากราษฎรในแต่ละอำเภอแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยังยั้งการเผาไร่อ้อยได้
กระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มกรคม 2563 นายปัณณทัต ปานเงิน ตัวแทนภาคประชาชน
กลุ่มคนรักบ้านเกิดจังหวัดเพชรบูรณ์ และ สำนึกรักษ์ห้วยใหญ่ ได้ทำหนังสือเปิดผนึก ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่อง วิกฤตมลภาวะทางอากาศ PM 2.5 สะท้อนความล้มเหลวในการควบคุม
ในการทำงานของภาครัฐภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ไม่สามารถควบคุมการเผาได้
พร้อมได้นำเสนอปัญหาเพื่อเป็นทางออกจำนวน 4 ข้อ คือ
ต้องออกคำสั่ง ห้ามบริษัทเอกชนเข้าส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ห้ามเพิ่มพื้นที่การปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
เพื่อลดการเพิ่มพื้นที่เสี่ยงเผาอ้อยลง ลดพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยลง
โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาหนัก เพื่อลดปริมาณพื้นที่เผาให้ลดลง
เพื่อตรวจเช็คสภาพอากาศ ต้องติดตั้งจุดตรวจ PM 2.5 ในทุกอำเภอ
เพื่อระมัดระวังอันตรายที่จะก่อเกิดกับประชาชนในพื้นที่ เชื่อว่า ข้อเสนอ นี้
จะช่วยแก้ปัญหา มลภาวะทางอากาศในระยะยาวต่อไป
ด้านนายวิศัลย์ โฆษิตานนท์
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้โพส Facebook ส่วนตัวระบุว่าการทำมาหากินโดยสุจริตไม่มีใครว่าอะไรแต่การทำมาหากินที่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่นมันคือการเบียดเบียนกันและกัน
และ ละเมิดสิทธิ กันจึงเป็นที่น่ารังเกียจ
ต้องถูกต่อต้านไม่ให้เกิดมีขึ้นในเมืองเพชรบูรณ์ ความยากจน และ
ความจำเป็นต้องทำมาหากินเพื่อความอยู่รอดไม่สามารถเป็นข้ออ้างที่จะทำอะไรก็ได้แม้จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพราะทุกคนก็ต้องทำมาหากินเพื่อความอยู่รอดเช่นเดียวกัน
แต่ต้องเป็นอาชีพ
หรืองานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครถึงจะอยู่ด้วยกันได้อย่างปกติสุขในสังคม
ไม่มีความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น